วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สวัสดีปีใหม่ 2011

content.php.gif


my ไอดอล

st_detail.php.jpg

คะนึงนิจ จักรสมิทธานนท์
ประวัติการศึกษา
- ระดับมัธยม โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ แผนกวิทย์-คณิต
- ระดับปริญญาตรีจาก คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาเอกออกแบบ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (เกียรตินิยมอันดับ 1)

• เป็นลูกสาวคนโต สวยสุดในบ้าน (แต่ขอรองจากคุณแม่ติดส์นึง) หนีบน้องชายทั้ง แสบซ่าส์ตามมาติดๆอีก 2 หน่อ แถมห่างกันคนละ 4 ปี พอดิบพอดี

• เริ่มอวดสวยให้เห็นครั้งแรก เมื่อวัยทำบัตรประชาชน โดยมีบุคคลนามนึง (ไม่ขอเอ๋ยนาม เพราะไม่รู้ !!! ) ให้มาถ่ายสารคดีความงามแบบสั้นๆ

• นิสัยใจคอนั้น เป็นสาวห้าวๆ เชื่อมั่นในตัวเอง ชอบคุย พูดเก่ง (มั่กมั่ก) ประมาณนั้น...

• ชอบมาก คงเป็นเพลงสไตล์ป๊อป สบายๆ ของ ชายหนุ่ม ที่สาวๆ กรี๊ดกันทั่วเมือง อย่าง พี่นภ พรชำนิ ชายที่ทำให้หญิงเคลิบเคลิ้ม (แอบส่วนตัวนะเนี่ย..) เป็นชายที่อบอุ่นม้าก ถึงมากที่สุด

• กลัวสุด คงเป็น เอ่อ... คือว่าคือ... ผี... ค๊า...ผี แต่ก็ไม่ค่อยว่างเจอเท่าไหร่นะค๊ะผลงานโฆษณา
- Tipco
- Orange
- Olay
- Darlie

ผลงานมิวสิควีดีโอ
- เพลง บอกรัก ของ บรรเจิด สินธุ
- เพลง คงเดิม ของ เอิน จินตภัทร
- เพลง ลืมซะ ของ เอิน จินตภัทร
- เพลง คนน่ารัก ของวง I-ZAX
- เพลง เรื่องธรรมดา ของ เจมส์ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์
- เพลง เพื่อเธอคนเดียว ของ จิระศักดิ์ ปานพุ่ม
- เพลง ไม่คิดเลยว่าจะรักเธอ ของ ธนกฤต พานิชวิทย์ (ว่าน AF2)
- เพลง ฤดูอกหัก ของ Calories Blah Blah

ผลงานละคร
- ต่างฟ้า..ตะวันเดียว รับบทเป็น อรวิดา ( หญิงอร )
- อยากจะรักเดี๋ยวจัดให้ รับบทเป็น หมวย
- คมรัก คมเสน่ห์หา รับบทเป็น ใบบัว
- ดั่งดวงหฤทัย รับบทเป็น เจ้าหญิงมณิสรา
- น้องเหมียวเขี้ยวเพชร รับบทเป็น มาริษา
- อภิมหึมามหาเศรษฐี รับบทเป็น นวลปราง
- คู่กิ๊กพริกกะเกลือ รับบทเป็น กิมบ๊วย

ผลงานอื่นๆ
- พิธีกรรายการ "ตลาดสดสนามเป้า" (ช่อง 5) 

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วันรัฐธรรมนูญ

วามหมายของรัฐธรรมนูญ

          รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ 
          วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
รัฐธรรมนูญ

ประวัติความเป็นมา

          การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  
           พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย 

           หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ 

           อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน 

           รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร
 

          จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเด และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ



          วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ

           พระมหากษัตริย์
           สภาผู้แทนราษฎร
           คณะกรรมการราษฎร
           ศาล

          ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้

          สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

รัฐธรรมนูญ

          กระทั่งถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี 
          ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้

รัฐธรรมนูญ


          หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้้

          รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ 

ลงนามถวายพระพร


ลูกขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ ขอให้พระองค์เป็นมิ่งขวัญของปวงชน ประชาชนชาวไทย และขอให้พระองค์ เป็นต้นไม้ใหญ่ที่ร่มเย็น เพื่อปกป้อง และคุ้มครองพวกเราทุกๆ คน ตลอดไป
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
       ข้าพระพุทธเจ้า นางสาวศดานันท์ เลียบภูเขียว