วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สวัสดีปีใหม่ 2011

content.php.gif


my ไอดอล

st_detail.php.jpg

คะนึงนิจ จักรสมิทธานนท์
ประวัติการศึกษา
- ระดับมัธยม โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ แผนกวิทย์-คณิต
- ระดับปริญญาตรีจาก คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาเอกออกแบบ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (เกียรตินิยมอันดับ 1)

• เป็นลูกสาวคนโต สวยสุดในบ้าน (แต่ขอรองจากคุณแม่ติดส์นึง) หนีบน้องชายทั้ง แสบซ่าส์ตามมาติดๆอีก 2 หน่อ แถมห่างกันคนละ 4 ปี พอดิบพอดี

• เริ่มอวดสวยให้เห็นครั้งแรก เมื่อวัยทำบัตรประชาชน โดยมีบุคคลนามนึง (ไม่ขอเอ๋ยนาม เพราะไม่รู้ !!! ) ให้มาถ่ายสารคดีความงามแบบสั้นๆ

• นิสัยใจคอนั้น เป็นสาวห้าวๆ เชื่อมั่นในตัวเอง ชอบคุย พูดเก่ง (มั่กมั่ก) ประมาณนั้น...

• ชอบมาก คงเป็นเพลงสไตล์ป๊อป สบายๆ ของ ชายหนุ่ม ที่สาวๆ กรี๊ดกันทั่วเมือง อย่าง พี่นภ พรชำนิ ชายที่ทำให้หญิงเคลิบเคลิ้ม (แอบส่วนตัวนะเนี่ย..) เป็นชายที่อบอุ่นม้าก ถึงมากที่สุด

• กลัวสุด คงเป็น เอ่อ... คือว่าคือ... ผี... ค๊า...ผี แต่ก็ไม่ค่อยว่างเจอเท่าไหร่นะค๊ะผลงานโฆษณา
- Tipco
- Orange
- Olay
- Darlie

ผลงานมิวสิควีดีโอ
- เพลง บอกรัก ของ บรรเจิด สินธุ
- เพลง คงเดิม ของ เอิน จินตภัทร
- เพลง ลืมซะ ของ เอิน จินตภัทร
- เพลง คนน่ารัก ของวง I-ZAX
- เพลง เรื่องธรรมดา ของ เจมส์ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์
- เพลง เพื่อเธอคนเดียว ของ จิระศักดิ์ ปานพุ่ม
- เพลง ไม่คิดเลยว่าจะรักเธอ ของ ธนกฤต พานิชวิทย์ (ว่าน AF2)
- เพลง ฤดูอกหัก ของ Calories Blah Blah

ผลงานละคร
- ต่างฟ้า..ตะวันเดียว รับบทเป็น อรวิดา ( หญิงอร )
- อยากจะรักเดี๋ยวจัดให้ รับบทเป็น หมวย
- คมรัก คมเสน่ห์หา รับบทเป็น ใบบัว
- ดั่งดวงหฤทัย รับบทเป็น เจ้าหญิงมณิสรา
- น้องเหมียวเขี้ยวเพชร รับบทเป็น มาริษา
- อภิมหึมามหาเศรษฐี รับบทเป็น นวลปราง
- คู่กิ๊กพริกกะเกลือ รับบทเป็น กิมบ๊วย

ผลงานอื่นๆ
- พิธีกรรายการ "ตลาดสดสนามเป้า" (ช่อง 5) 

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วันรัฐธรรมนูญ

วามหมายของรัฐธรรมนูญ

          รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ 
          วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
รัฐธรรมนูญ

ประวัติความเป็นมา

          การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  
           พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย 

           หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ 

           อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน 

           รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร
 

          จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเด และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ



          วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ

           พระมหากษัตริย์
           สภาผู้แทนราษฎร
           คณะกรรมการราษฎร
           ศาล

          ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้

          สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

รัฐธรรมนูญ

          กระทั่งถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี 
          ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้

รัฐธรรมนูญ


          หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้้

          รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ 

ลงนามถวายพระพร


ลูกขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ ขอให้พระองค์เป็นมิ่งขวัญของปวงชน ประชาชนชาวไทย และขอให้พระองค์ เป็นต้นไม้ใหญ่ที่ร่มเย็น เพื่อปกป้อง และคุ้มครองพวกเราทุกๆ คน ตลอดไป
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
       ข้าพระพุทธเจ้า นางสาวศดานันท์ เลียบภูเขียว

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รายงานการสร้างบล็อก

วันนี้ทำบล็อกยุ่งยากมากกว่าจะทำได้มีแต่ปัญหา   ไม่รู้จะทำทำไม